รากเทียม
คลินิกทันตกรรมวิลเด็นท์ (Will Dent Dental Clinic)
คลินิกทันตกรรมครบวงจร ดูแลฟันสวย ส่งต่อรอยยิ้มที่มั่นใจ
รากฟันเทียม คืออะไร
คือการรักษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้วัสดุที่ทำจากไทเทเนียมที่มีรูปร่างคล้ายรากฟัน ที่ใช้ทดแทนฟันที่หายไปในผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยี ทางด้านรากเทียมมีการพัฒนาไปมาก ในอดีตการทํารากเทียม นอกจากจะยุ่งยากแล้ว ยังใช้เวลาในการรักษานานอีกด้วย ในอดีตการทําฟันรากเทียมนอกจากจะยุ่งยากแล้วยังใช้เวลาในการรักษานานอีกด้วย อาจจะต้องใช้เวลาถึงครึ่งปีหรือมากกว่านั้นแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านรากเทียม พัฒนาไปไกลทำให้สามารถย่นระยะเวลาการรักษาได้อย่างรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม รากเทียมในปัจจุบันมีการยึดติดกับกระดูกได้เร็วและเทคนิคในการฝังและใส่ฟัน ซึ่งเอื้อให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาได้เร็วและมีประสิทธิภาพ ในบางรายผู้รักษาสามารถมีฟันกลับไปได้ใน 1 วัน หรือภายใน 1 อาทิตย์รากฟันเทียมมีกี่ส่วน
เราแบ่งส่วนประกอบของรากฟันเทียมเป็น 3 ส่วน คือ
ราก (Fixture) มีลักษณะคล้ายสกรู ทำหน้าที่เป็นรากฟันที่เชื่อมติดกับกระดูกขากรรไกร
แกนฟัน (Abutment) อยู่ตรงกลางระหว่างรากและครอบฟัน เปรียบเสมือนโครงสร้างแกนฟันหลัก ทำหน้าที่เป็นตัวยึดรากฟันไทเทเนียมกับครอบฟันให้มั่นคง
ครอบฟัน (Crown) ผลิตจากเซรามิก ทำรูปร่างและสีให้เหมือนฟันธรรมชาติ
รากฟันเทียมมีกี่แบบ คือ
1. รากฟันเทียมซี่เดียว (Single Dental Implant) การทำรากฟันเทียมฟันซี่เดียว จะชดเชยฟันที่หายไปทั้งซี่ตั้งเเต่รากฟันจนถึงตัวฟัน
2. รากฟันเทียมหลายซี่ (Implant-supported bridge) การทำรากฟันเทียมหลายซี่ ใช้การติดสะพานฟันที่รองรับรากฟันเทียม ซึ่งมีแกนฟันที่เชื่อมต่อระหว่างรากฟันเทียมและสะพานฟัน เพื่อชดเชยฟันที่หายไปจำนวน 2 ซี่ขึ้นไปที่อยู่ติดกัน โดยใช้สะพานฟันเป็นตัวปิดช่องว่างตรงกลางของฟันซี่ที่หายไป เหมาะกับคนไข้ที่สูญเสียฟันหลายซี่ที่อยู่ติดกัน
3. รากฟันเทียมทั้งปาก (Implant-Retained Denture) รากฟันเทียมทั้งปาก จะถูกวางเรียงบนแนวเหงือกของคนไข้ เพื่อทดแทนฟันบนหรือฟันล่างทั้งชุด ทันตแพทย์จะวางรากฟันเทียมสี่จุดตามแนวโค้งขากรรไกร ในขั้นตอนการขณะรักษา ฟันปลอมอาจได้รับการปรับแก้ไขเพื่อให้สามารถสวมใส่ได้พอดีกับกระดูกที่ผสานตัวกับรากเทียม
ข้อดีของรากฟันเทียม
เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนฟันธรรมชาติ- ป้องกันฟันล้มหรือฟันเอียงที่เกิดจากการสูญเสียฟัน- เสริมบุคลิกภาพ สร้างความมั่นใจ- แก้ปัญหาที่เจอจากการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ เช่น ฟันปลอมหลวม เห็นตะขอเกี่ยว เคี้ยวอาหารติดขัด กังวลว่าฟันปลอมจะหลุดขณะเคี้ยวอาหาร/สนทนา
การเตรียมตัวเข้ารับการทำรากฟันเทียมคนไข้ที่จะทำการเข้ารับการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียม จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจและประเมินจากทันตแพทย์เฉพาะทางอย่างละเอียด ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบดเคี้ยวและขั้นตอนการทำทันตกรรมประดิษฐ์ จะทำการเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ หากคนไข้มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาอยู่ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ นอกจากนั้นการดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดีเป็นสิ่งสำคัญที่คนไข้ควรปฏิบัติก่อนทำการเข้ารับการรักษา
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
ส่วนที่ 1 เริ่มต้นขั้นตอนด้วยการฝังฟันรากเทียมจะใช้เวลาการทำประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้น 5-7 วันทันตแพทย์จะทำการนัดคนไข้เพื่อกลับมาติดตามอาการและเช็คแผล
ส่วนที่ 2 หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนส่วนที่ 1 ต่อไปคือการใส่ฟันบนรากเทียม ส่วนนี้จะจะใช้เวลาการทำห่างจากส่วนที่ 1 ประมาณ 2 เดือนหรือมากกว่า ระยะเวลาในการรักษาของส่วนนี้จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน รวมกระบวนการรับส่งงานจากแลป
สาเหตุที่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลาการทำระหว่างส่วนที่ 1 กับส่วนที่ 2 อย่างน้อย 2 เดือน เพราะจะได้มีเวลาเพียงพอให้รากเทียมสามารถยึดติดกับกระดูกฟันให้แน่น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหารากเทียมที่อาจหลุดได้ แต่ในบางครั้ง สามารถทำรากเทียมแบบใช้ทันทีได้ภายใน 1 อาทิตย์ ทั้งนี้ จะต้องปรึกษาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
หมายเหตุ: กรณีหากเป็นการปลูกกระดูกที่มีความซับซ้อน อาจจะมีความจำเป็นต้องปลูกกระดูกทิ้งไว้ 3-6 เดือน (โดยเฉพาะสำหรับกรณีที่กระดูกหายไปเป็นจำนวนมาก) หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ถึงทำการเริ่มทำส่วนที่ 1 หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำรากเทียมคนไข้จำเป็นต้องนัดพบทันตแพทย์เพื่อทำการเช็ครากเทียมเป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน
ทันตแพทย์นัดติดตามผลการรักษา
ทันตแพทย์ นัดคนไข้เพื่อติดตามผลหลังผ่าตัด ภายใน 1-2 เดือน ช่วงเเรก เเละนัดตรวจประจำปี เพื่อเช็คสุขภาพโดยรวมของช่องปากตามปกติdental implant
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดใส่รากเทียม
การดูเเลในช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัด จะมีอาการปวดระบมเป็นเวลา 3-7 วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการปวดที่ใกล้เคียงหรือน้อยกว่าการปวดจากการถอนฟัน
- ประคบเย็นบนผิวบริเวณที่ผ่าตัดทันทีหลังการรักษา เพื่อช่วยลดอาการบวม
- หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดเครื่องดื่ม 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด เพราะแรงดูดจะทำให้ลิ่มเลือดที่กำลังสมานตัวหลุดออก ทำให้เกิดอาการปวดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
- ในช่วงแรกแนะนำให้รับประทานอาหารเหลว ที่ไม่ต้องเคี้ยวเพื่อกันการระบมหลังผ่าตัด
- ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ 3-4 ครั้งต่อวัน
- หลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัด อาหารเเข็งกรอบ หรือมีความเหนียว ช่วง 2 วันแรก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 วันหลังการผ่าตัด
- ทันตแพทย์จะแนะนำให้กินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ